ระบบการทำงานของตู้ควบคุมปั๊มน้ำมันดับเพลิง
หลักการทั่วไป ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงนี้ ได้ประกอบขึ้นมาเพื่อการใช้งานระบบป้องกันอัคคีภัยซึ่งมีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐานและการทำงาน ที่อ้างอิงจากระบบป้องกันอัคคีภัยสากล NFPA 20 STANDARD กล่าวคือ ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงนี้ จะสั่งให้เครื่องยนต์ทำงานเองอัตโนมัติ AUTO START และ หยุดเครื่องโดยการบังคับด้วยมือ MANUAL STOP ที่ตู้ควบคุมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ระบบการทำงานของตู้ควบคุมปั๊มน้ำมันดับเพลิง
OPERATION SYSTEM FOR FIRE PUMP CONTROLLER
หลักการทั่วไป
ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงนี้ ได้ประกอบขึ้นมาเพื่อการใช้งานระบบป้องกันอัคคีภัยซึ่งมีข้อกำหนดภายใต้มาตรฐานและการทำงาน ที่อ้างอิงจากระบบป้องกันอัคคีภัยสากล NFPA 20 STANDARD กล่าวคือ ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงนี้ จะสั่งให้เครื่องยนต์ทำงานเองอัตโนมัติ
AUTO START หรือหยุดเครื่องโดยการบังคับด้วยมือ MANUAL STOP ที่ตู้ควบคุมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ลักษณะตู้ควบคุมปั๊มสูบน้ำดับเพลิง
1.ตัวตู้เป็นสีแดง มีความหนาอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร ป้องกันน้ำและฝุ่นได้ดี
2.ระบบการทำงานสามารถเลือกการทำงานได้ 3 ระบบ คือ MANUAL-OFF-AUTO
3.VOLT BATTERY มีมาตราวัดแสดวงโวลต์ของแบตเตอรี่ในการใช้งาน ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2
4.AMP CHARGE มีมาตราวัดแอมป์ในการชาร์ตของชุดชาร์ตไฟแบตเตอรี่ บอกเป็นแอมป์ต่อ ชั่วโมง ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 AC POWER CB 1 มีสวิตช์ตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับชุดชาร์ตไฟแบตเตอรี่
5.BATTERY 1 CB 3 มีสวิตช์ตัดต่อมาตรวัดโวลต์ และจำนวนแอมป์ที่ชาร์ตแบตเตอรี่ 1
6.OFF สวิตช์ควบคุมหยุดการทำงานของปั๊มน้ำมันเพลิง
7.MANUAL ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยการเลือกสตาร์ทเครื่องยนต์ 12 AUTO ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องอัตโนมัติในกรณีแรงดันในเส้นท่อลดลงถึงจุดที่ตั้งไว้ที่ PRESSURE SWITCH ในตู้ควบคุมและสั่งการทำงานเองอัตโนมัติ
ระบบ AUTO (ระบบอัตโนมัติ)
1.ให้สังเกต PRESSURE SWITCH ในตู้ CONTROL กระเปราะปรอทแก้วจะต้องกระดกอยู่ทางซ้ายมืออย่างเดียว
2.บิดสวิตช์ลูกบิดในตู้ CONTROL ตำแหน่ง AUTO
3.ทำให้ PRESSURE หรือ ความดันในเส้นท่อ สุดลง ถึงจุดที่ตั้ง PRESSURE SWITCH ในตู้ CONTROL หรือเปิดน้ำที่สายฉีดดับเพลิง FIRE PUMP ก็จะทำงานอัตโนมัติ
4.เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้ว ให้สังเกตที่ชุด BY PASS VALVE จะต้องมีน้ำไหลออกจากปลายท่อน้ำทิ้ง
วิธีดับเครื่อง
บิดสวิตช์ลูกบิดในตู้ CONTROL ตำแหน่ง OFF แล้ว กดปุ่ม STOP
การตั้งสวิตช์แรงดัน
FIRE PUMP & JOCKEY PUMP CONTROLLER (ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ รักษาแรงดันในเส้นท่อ) PRESSURE SWITCH (สวิตช์สั่งทำงานอัตโนมัติ)
RANGE การปรับตั้งค่า START/STOP
(1) NO.1 แกนปรับเข็มตั้งค่าตัดวงจร หมุนแกนปรับเข็มให้ตรงกับค่าแรงดันที่ต้องการหยุดทำงาน
DIFFERENTIAL PRESSURE ADJUSTMENT
(2) NO.2 แกนปรับเข็มตั้งช่วงระยะห่างของการ START/STOP
ตัวอย่าง
1.ถ้าต้องการให้ JOCKEY PUMP หยุดการทำงานที่ 150 PSI ให้หมุนแกน หมายเลข 1 ให้อยู่ที่ตำแหน่ง 150 PSI
2.บิดสวิตช์ควบคุมหน้าตู้ควบคุมไปที่ AUTO
3.สังเกตดูที่ PRESSURE GAUGE ในระบบว่าปั๊มหยุดใกล้เคียงกับที่ตั้งไว้หรือไม่
4.หมุนแกนหมายเลข 2 เพื่อตั้งระยะห่างของการสตาร์ท ตามตัวอย่างนี้ให้หมุนไปอยู่ที่ตำแหน่งที่ 30 PSI นั่นคือ ช่วงระยะห่างการ START/STOP ในระบบเท่ากับ 30PSI วิธีหาค่าจุดสตาร์ท ทำได้โดย จุดปั๊มหยุดทำงาน 150 PSI-ค่าDIFF 30 PSI
∴ ปั๊มจะสตาร์ทเมื่อแรงดันลดลงที่ 120 PSI
หมายเหตุ *กรณีมี TIMER หน่วงเวลา แรงดันอาจเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตั้งไว้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของ TIMER ที่ตั้งไว้
MAIN PRESSURE RELIEF VALVE
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายแรงดันเกินที่ไม่ต้องการออกจากระบบท่อส่งน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติเสมอแม้ว่าเครื่องสูบน้ำยังคงทำงานอยู่ เนื่องจากมาตรฐาน NFPA-20 กำหนดให้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ทำงานเองโดยอัตโนมัติจากการสั่งงานของ PRESSURE SWITCH หรือจากการควบคุมระยะไกล (REMOTE) อื่นๆ แต่ในการหยุดทำงานของเครื่องยนต์ในภาวะปกติต้องใช้ระบบ MANUAL STOP คือต้องมีผู้ควบคุมสั่งให้เครื่องหยุดโดยการกดปุ่ม STOP PUSH BUTTON หรือ MAIN SWITCH กลับมาที่ตำแหน่ง OFF เครื่องยนต์จึงจะดับ ดังนั้นในเมื่อไม่มีการใช้น้ำ ก่อนเครื่องจะหยุดเครื่องสูบน้ำจะทำให้แรงดันเครื่องสูบน้ำอัดเข้าไปในระบบสูงจนถึงจุดการทำงานของ PRESSURE RELIEF VALVE น้ำและแรงดันส่วนที่เกินก็จะถูกปล่อยออกไปจากระบบจนกว่าจะทำการดับเครื่องยนต์ การตั้งจุดการทำงานของ PRESSURE RELIEF VALVE นั้นควรจะสูงกว่าแรงดันปกติภายในระบบ (STATIC KEEPING PRESSURE) ประมาณ 2-5 PSI เช่น แรงดันของน้ำในระบบที่ต้องการ คือ 100 PSI เหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ PRESSURE RELIEF VALVE สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล คือ เป็นตัวเปิดน้ำส่วนเกินทิ้งในขณะที่มีการเดินเครื่องตามโปรแกรมนาฬิกา (WEEKLY PROGRAM TIMER)
การตั้ง PRESSURE SWITCH
ภายในตู้ควบคุมการทำงานของ FIRE PUMP และ JOCKET PUMP จะมี PRESSURE SWITCH สั่งการให้ทำงานเองโดยอัตโนมัติโดยอาศัยแรงดันภายในระบบท่อเป็นตัวส่งสัญญาณโดย PRESSURE SWITCH จะมีจุดให้ปรับตั้งได้ 2 ตำแหน่ง คือ
-จุดต่อ (CUT IN) หรือ LOWER POINTER
-จุดตัด (CUT OFF) หรือ UPPER POINTER
ในการตั้ง (CUT IN) นั้นจะต้องให้ตั้ง JOCKRY PUMP ทำงานก่อน FIRE PUMP เสมอคือ
ถ้าแรงดันในระบบน้ำคือ 110 PSI
-จุด (CUT OFF) ของ PRESSURE SWITCH ทั้งคู่คือ 110 PSI
-จุด(CUT IN) ของ JOCKRY PUMP คือ 90 PSI
-จุด (CUT IN) ของ FIRE PUMP คือ 70 PSI
หมายเหตุ การตั้งจุด CUT IN ของ FIRE PUMP และ JOCKEY PUMP นั้นควรจะมีช่วงห่างกันอย่างน้อย 20 PSI เพราะอาจจะมีการคลาดเคลื่อนของกลไกภายใน PRESSURE SWITCH ทั้งคู่ได้
แผ่นป้ายแสดงการทำงานของตู้ควบคุมการทำงานของเครื่องดับเพลิง
- POWER =สัญญาณไฟจะติด เมื่อมีไฟฟ้าเข้าจ่ายที่ตู้
- HIGH WATER TEMPERATURE =ไฟสัญญาณจะติด เมื่ออุณหภูมิของน้ำระบายความร้อนภายในเครื่องยนต์ สูงเกินกำหนด
- LOW OIL PRESSURE =ไฟสัญญาณจะติด เมื่อระดับน้ำมันในเครื่องยนต์ ต่ำกว่าที่กำหนด
- BATTERRY FAIL =ไฟจะติดเมื่อแบตเตอรี่ขัดข้อง (ไฟไม่พอ,น้ำกลั่นแห้ง หม้อแบตเตอรี่เสื่อม ฯลฯ)
5.ENGINE OVER SPEED = ไฟสัญญาณจะติด เครื่องยนต์มีความเร็วรอบเกินกำหนด (ให้กด RESET ที่ตำแหน่ง RESET ENGINE OVER SPEED ที่กล่อง SPEED SWITCH)
6.FAILED TO START = ไฟสัญญาณจะติด เมื่อเครื่องยนต์ไม่สามารถสตาร์ทได้ (น้ำมันหมด เครื่องยนต์ขัดข้อง)
7.CRANK ON BATTERRY = สวิตช์ปุ่มกด เลือกไฟจากแบตเตอรี่
8.STOP RESET BATTERRY TROUBLE = สวิตช์ปุ่มกด เพื่อหยุดสัญญาณเตือน เรื่อง BATTERY
การตรวจสอบและบำรุงรักษาปั๊มน้ำหอยโข่งทั่วไป
เพื่อให้ปั๊มน้ำมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น และไม่ต้องต้องหยุดเพื่อทำการซ่อมแซมบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำ โดยสำหรับปั๊มน้ำหอยโข่งเพลานอนในแนวราบ ควรตรวจสอบและบำรุงรักษาตามกำหนดเวลาดังนี้
การตรวจสอบและบำรุงรักษาประจำวัน มีดังนี้
1.ตรวจสอบรอยรั่วของประเก็นและข้อต่อต่างๆ ที่เดินเข้าและออกจากปั๊มน้ำ
2.ตรวจสอบแรงดันทางท่อทางดูดและจ่ายจากเกจวัดแรงดันที่ติดตั้ง
3.ตรวจสอบและสังเกตหาการรั่วจากซีลคอเพลา
4.ตรวจสอบการหล่อลื่นชุดซีล โดยดูจากการไหลของๆ เหลวที่มาหล่อเลี้ยง (ถ้ามี)
5.ตรวจสอบการกินกระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับปั๊มน้ำ
6.ตรวจสอบระดับเสียงและการสั่นสะเทือนทั้งของปั๊มน้ำและของมอเตอร์
7.ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นที่มาเลี้ยงชุดลูกปืนประคองเพลา
8.ตรวจสอบอุณหภูมิของปั๊มและมอเตอร์ขณะทำงาน
การตรวจสอบและบำรุงรักษาทุกๆ 6 เดือน มีดังนี
1.ทำการ Re-alignment คัปปลิ้งระหว่างเพลาปั๊มกับมอเตอร์ใหม่
2.เติมน้ำมันหล่อลื่น หรือจารบีให้กับลูกปืนประคองเพลา
การตรวจและบำรุงรักษาประจำปี มีดังนี้
1.ตรวจสอบการรั่วตามคอเพลาและอาจต้องเปลี่ยนวีลคอเพลาปีละครั้ง
2.กรณีที่ใช้ชุดซีลเป็นแบบเชือก (Grand Pack Seal) ควรเปลี่ยนปลอกเพลาด้วย
3.ตรวจสอบช่องว่างระหว่างใบพัดกับแหวนกันสึก (Wear Ring) ถ้าห่างมากควรเปลี่ยนเช่นกัน
4.เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นหรือทำการอัดจารบีใหม่ที่ลูกปืนประคองเพลา หรือ มอเตอร์
5.ทดสอบแรงดันที่ท่อทางจ่ายเปรียบเทียบกับกราฟคุณสมบัติของปั๊มน้ำ
6.ตรวจสอบตู้ควบคุมและทดสอบระบบป้องกันทางไฟฟ้า เช่น Over Load เป็นต้น พร้อมตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้ มอเตอร์ทุกเฟส เพื่อหาเหตุผิดปกติ
ทุกครั้งที่เปลี่ยนซีลคอเพลา ควรเปลี่ยนลูกปืนประคองเพลาของปั๊มด้วยทุกครั้ง
JOCKEY PUMP
ถึงแม้ว่าท่อส่งน้ำระบบดับเพลิงจะเป็นท่อที่ได้มาตรฐานหรือท่อเหล็กดำ SCH40 ต่อแนวโดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้า และมีการทดสอบรอยรั่วซึมตามรอยต่อทั่วแล้ว แต่เมื่อใช้ไปเป็นเวลานานก็อาจเกิดการชำรุดและมีการรั่วซึมได้ ซึ่งจะทำให้แรงดันของน้ำภายในระบบลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นในระบบดับเพลิงนี้จึงต้องมีเครื่องสูบน้ำแรงดันสูงตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า JOCKEY PUMP คอยเติมน้ำและรักษาแรงดันภายในท่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการเสมอเพราะถ้าไม่มี JOCKEY PUMP เมื่อแรงดันของน้ำลดลงเนื่องจากสาเหตุดังกล่าวจะทำให้ FIRE PUMP ทำงานแทน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองมากกว่า
การทำงานของ JOCKEY PUMP
เนื่องจาก JOCKEY PUMP ขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ดังนั้นชุดควบคุมการทำงานระบบไฟฟ้า สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 2 ระบบ
- AUTOควบคุมการใช้โดย PRESSURE SWITCH เช่นเดียวกับ FIRE PUMP โดยตรวจจับแรงดันของน้ำในระบบ เพื่อให้ JOCKEY PUMP เป็นตัวรักษาระดับแรงดันของน้ำภายในระบบ จึงต้องตั้งจุด CUT IN ให้ทำงานก่อน FIRE PUMP ทำงานและที่สำคัญในขณะที่ JOCKEY PUMP ทำงานอาจทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำ PRESSURE SWITCH สั่งหยุดเร็วเกินไป (สาเหตุ อาจจะมาจากการตั้งช่วงSTART/STOP ของ PRESSURE SWITCH น้อยเกินไป) ดังนั้นในวงจรควบคุมจึงมี TIMER OFF RELAY ยืดการทำงาน เพื่อป้องกันการเดินๆ หยุด ๆ ซ้ำกันหลายๆครั้งของมอเตอร์ โดยมาตรฐานให้ตั้งช่วงหน่วงของเวลาประมาณ 5-10 นาที ดังนั้นทุกครั้งที่ PRESSURE SWITCH สั่งให้ JOCKEY PUMP ทำงานจะใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 วินาที จึงจะหยุด
2.MANUAL START-STOP การทำงานระบบจะไม่ผ่านการควบคุมของ PRESSURE SWITCH การเดินและหยุดโดยต้องมีผู้ควบคุม ถึงแม้ PRESSURE SWITCH จะตัดวงจรอยู่ เมื่อบิด SWITCH มาที่ตำแหน่ง MANUAL PUMP จะทำงานทันที และเมื่อต้องการหยุด PUMP ให้บิด SWITCH มาที่ตำแหน่ง OFF
ลำดับขั้นตอนการ START UP FIRE PUMP
การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ตู้ควบคุม CONTROLLER FIRE PUMP
ระบบ AUTO (ระบบอัตโนมัติ)
1.ให้สังเกต PRESSURE SWITCH ในตู้ CONTROL
2.บิดสวิตช์ลูกบิดในตู้ CONTROL ตำแหน่ง AUTO
3.ทำให้ ความดันในเส้นท่อลดลง ถึงจุดที่ตั้ง PRESSURE SWITCH ในตู้ CONTROL หรือเปิดน้ำที่สายฉีดดับเพลิง FIRE PUMP ก็จะทำงานอัตโนมัติ
4.เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้ว ให้สังเกตที่ ชุด BY PASS VALVE จะต้องมีน้ำไหลออกจากปลายท่อน้ำทิ้ง
วิธีดับเครื่อง
บิดสวิตช์ลุกบิดในตู้ CONTROL ตำแหน่ง OFF แล้วกดปุ่ม STOP
ลำดับขั้นตอนการ START FIRE PUMP
ระบบ MUNUAL (ควบคุมด้วยมือ)
- สตาร์ทโดยตรงที่แผงควบคุมเครื่องยนต์ ENGINE PANEL
1.1 บิดสวิตช์สตาร์ทจังหวะที่ 1 เปิดวงจรเข้าระบบ ตำแหน่ง ON
1.2 บิดสวิตช์สตาร์ทจังหวะที่ 2 แช่ไว้ที่ตำแหน่ง START จนกระทั่งเครื่องยนต์ติดแล้วจึงปล่อยมือ
- ขณะเครื่องยนต์ติดแล้วให้ให้สังเกต
2.1 เกจวัดรอบเครื่องยนต์ TECHOMETER อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 2600 RPM
2.2 เกจวัดแรงดันน้ำเครื่อง
2.3 เกจวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ TEMP อยู่ที่ 80-90 องศา
วิธีดับเครื่องยนต์
บิดสวิทซ์ควบคุมที่ ENGINE PANEL มาที่ตำแหน่ง OFF
ขั้นตอนการทดสอบระบบปั๊มดับเพลิงประจำสัปดาห์ “WEEKLY TEST”
เพื่อเตรียมพร้อมเครื่องยนต์ของปั๊มน้ำดับเพลิงให้พร้อมใช้อยู่เสมอ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- บิดวาล์วจ่ายน้ำที่ส่งน้ำให้กับหัวจ่ายของแต่ละส่วนในระบบ
- เปิดวาล์ว BY-PASS เพื่อให้น้ำไหลกลับเข้าถัง (เปิดครึ่งหนึ่ง หรือ 2 ส่วนใน4 ส่วน)
- สตาร์ทเครื่องยนต์ตามขั้นตอนการสตาร์ทข้างต้น ตามที่กล่าวมาแล้ว
- สตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้วให้สังเกตเกจวัดแรงดันน้ำ PRESSURE GAUGE ว่าแรงดันอยู่ที่ 7 BAR หรือ 100 PSI หรือไม่ (สามารถไปปรับแรงดันน้ำได้ที่วาล์ว BY-PASS)
-ถ้าแรงดันสูงกว่า 100 PSI ให้หมุนวาล์ว BY-PASS ในทิศทางเปิดเพิ่มขึ้น
-ถ้าแรงดันต่ำกว่า 100 PSI ให้หมุนวาล์ว BY-PASS ในทิศทางปิดเพิ่มขึ้น
- เดินเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประมาณ 20 นาที
เครื่องยนต์ ISUZU จะกินน้ำมันประมาณ 19 ลิตร/ชั่วโมง
- ขั้นตอนการปิดเครื่อง
6.1บิดสวิตช์สตาร์ทมาที่ตำแหน่ง OFF เครื่องยนต์จะดับทันที
6.2ปิดวาล์ว BY-PASS
6.3เปิดวาล์วจ่ายน้ำของแต่ละส่วนให้หมดทุกจุด เพื่อพร้อมใช้งานในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย
หลักการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ดีเซล
การตรวจประจำวันหรือทุกสัปดาห์
-ตรวจรายงานผู้ใช้เครื่อง
-ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
-ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
-ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำรังผึ้ง
-ตรวจระดับน้ำในถังพักระบบHEAT-EXCHANGER
-ตรวจดูรอยรั่ว การชำรุดต่างๆ รวมทั้งฟังเสียงของเครื่องยนต์
-ตรวจสายพานของเครื่องยนต์
-ตรวจเช็คกรองอากาศชนิดเปียก
-ระบายน้ำออกจากกรองน้ำมันเชื้อเพลิง (กรองดักน้ำ)
การตรวจทุก 250 ชั่วโมง
-ถ่ายน้ำมันเครื่อง
หมายเหตุ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และ กรองน้ำมันเครื่อง ควรจะเปลี่ยนเมื่อ 50 ชั่วโมงแรก แล้วจึงเริ่ม นับเวลาใหม่
-เปลี่ยนกรองโซล่า
-ทำความสะอาดระบบ BY-PASS ของชุด HEAT-EXCHANGER
-เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง
-เปลี่ยนกรองน้ำยา
-ทำความสะอาดท่อหายใจเครื่องยนต์
-ทำความสะอาด หรือ ไส้กรองอากาศ
การตรวจทุก 1500 ชั่วโมง
-ปรับตั้งวาล์วและหัวฉีด
-ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่
การตรวจทุก 4500 ชั่วโมง
-นำหัวฉีดและปั๊มเชื้อเพลิงไปตรวจเช็คใหม่
-ตรวจเช็คทำการยกซ่อม หรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนต่อไป
-การตรวจประจำปี/ตรวจทั่วไป ทำความสะอาดระบบระบายความร้อน
-เปลี่ยนท่อยางต่างๆ เท่าที่จำเป็น
-ตรวจทำความสะอาดขั้วไฟฟ้าต่างๆ และแบตเตอรี่
-ตรวจเช็คความตรึงของสกรูยึดแท่นเครื่องต่างๆ
-ตรวจเช็คความตรึงของสกรูยึดชุดเทอร์โบชาร์จเจอร์
-ตรวจเช็คระบบไดชาร์จ (เจนเนอเรเตอร์)
-ตรวจเช็คระบบไดรสตาร์ท (มอเตอร์ สตาร์ท)
ตารางการตรวจสอบบำรุงรักษาระบบดับเพลิง
หัวข้อ | รายการ | ทุกชั่วโมง | ทุกวัน | ทุกอาทิตย์ | ทุกเดือน | ทุกปี |
1. | ทดสอบ ALARM VALVE และ ALARM GONG | X | ||||
2. | ทดสอบ FIRE CONNECTION (ALARM) ถึงการเตรียมพร้อม | X | ||||
3. | ตรวจเช็คอุปกรณ์ประกอบในตู้ดับเพลิงพร้อมทดสอบฉีด | X | ||||
4. | ทดสอบ FLOW SWITCH | X | ||||
5. | ทดสอบ SUPER VISORY SWITCH | X | ||||
6. | ตรวจเช็คอุปกรณ์และหลอด LED ในตู้ ANNUNCIATOR | X | ||||
7. | ตรวจเช็คความดันในถังดับเพลิงมือถือ | X | ||||
8. | เก็บแผ่นกราฟบันทึกแรงดันในตู้ CONTROL | X | ||||
9. | ตรวจสอบ เช็คตำแหน่งที่ถูกต้องของ VALVE | X | ||||
10. | ตรวจเช็ค STRAINER ของ JOCKEY | X | ||||
11. | ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องและ DRIAN ตะกอนในถังเก็บ | X | ||||
12. | ตรวจเช็คระดับน้ำหล่อมันโซล่าในเครื่องดีเซล | X | ||||
13. | ตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นในถังเครื่องดีเซล | X | ||||
14. | ตรวจเช็คและปล่อยของ STRAINER ของน้ำหล่อเย็น | X | ||||
15. | ตรวจเช็คตำแหน่ง VALVE ที่ถูกต้องของถังน้ำ | X | ||||
16. | ตรวจเช็คไส้ของน้ำมันดีเซล | X | ||||
17. | ถอดทำความสะอาดไส้กรองอากาศ | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
18. | ตรวจเช็คแบตเตอรี่และน้ำกลั่น | X | ||||
19. | ตรวจเช็คสายสะพานหมุนเครื่องและทำความสะอาด | X | ||||
20. | ตรวจเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
21. | ตรวจเช็คความผิดปกติของเสียงในเวลาเดินเครื่อง | X | ||||
22. | ตรวจเช็คระบบควบคุมในตู้ควบคุม | X | ||||
23. | ตรวจเช็ค MOTOR CURRENT (AMPS) | X | ||||
24. | ตรวจเช็ค OVER SPEED ของเครื่องยนต์ | X | ||||
25. | ตรวจเช็คอัตราการไหล | X | ||||
26. | ตรวจเช็ค GLAND PACKING SEAL ของPUMP | X | ||||
27. | DRIAN น้ำในระบบทิ้ง | ทุก6เดือน | ||||
28. | ตรวจเช็คการทำงาน | X | ||||
29. | ตรวจเช็คความสะอาดของน้ำหล่อเย็น | X |
หัวข้อ | รายการ | ทุกชั่วโมง | ทุกวัน | ทุกอาทิตย์ | ทุกเดือน | ทุกปี |
30. | ตรวจเช็คการงานของ FIRE PUMP ตามที่ตั้ง AUTO ตามวันและเวลาไว้ | X | ||||
31. | ตรวจเช็คกรองอากาศชนิดเปียก | X | ||||
32. | ระบายน้ำออกจากถัง | X | ||||
33. | เปลี่ยนกรองโซล่า | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
34. | เปลี่ยนกรองบายพาส | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
35. | เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
36. | เปลี่ยนกรองน้ำยา | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
37. | ตรวจเช็คระดับน้ำมันในอนีรอยด์หรือในไฮดรอลิกกอฟเนอร์ | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
38. | ทำความสะอาดท่อหายใจเครื่องยนต์ | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
39. | ปรับตัว VALVE และหัวฉีด | ทุก 250ชั่วโมง | ||||
40. | เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นในกลไกอนีรอยด์และไฮดรอลิกกอฟเนอร์ | ทุก1500ชั่วโมง | ||||
41. | เปลี่ยนไส้กรองระบายลมของอนีรอยด์ | ทุก1500ชั่วโมง | ||||
42. | ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่ | ทุก1500 ชั่วโมง | ||||
43. | นำหัวฉีดและปั๊มเชื้อเพลิงไปตรวจเช็คใหม่ | ทุก4500ชั่วโมง | ||||
44. | ตรวจเช็คทำการยกซ่อมหรือเปลี่ยนแปลงขิ้นส่วนต่อไปนี้-ดุมใบพัด-ปั๊มน้ำ-เทอร์ฌบซาโวเจอร์-มู่เล่ย์ต่างๆ | |||||
ข้อแนะนำในการใช้แบตเตอรี่
- แบตเตอรี่ต้องติดตั้งอย่างแน่นหนาในที่สำหรับติดตั้ง
- สายไฟสำหรับต่อระหว่างขั้ว ควรติดให้แน่นและยาวพอสมควรเพื่อป้องกันการรัดวงจร
- การขันขั้วแบตเตอรี่ควรใช้กุญแจปากตายอย่าใช้วิธีปิดกับขั้ว เพราจะทำให้ขั้วชำรุด
- รักษาแบตเตอรี่ให้สะอาด โดยการตรวจเช็คที่ระบายอากาศของจุก อย่าให้มีผงฝุ่นอุดตัน
- รักษาแบตเตอรี่ส่วนบนให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าขั้วสกปกหรือมีคราบขาวเกาะให้ล้างด้วยน้ำร้อนและทาวาสลินที่ขั้ว
- ถ้าสตาร์ทติดยาก หรือวัด ถพ. ได้ต่ำกว่า 1.200 แสดงว่าไฟไม่พอให้นำแบตเตอรี่ไปอัดไฟจนกว่าจะเต็ม
- ถ้าเก็บแบตเตอรี่ไว้โดยไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่สม่ำเสมอควรนำมาอัดไฟอย่างน้อยเดือนละครั้ง
- ในกรณีที่แบตเตอรี่ไฟหมด โปรดนำไปตรวจที่ร้านผู้แทนจำหน่ายแบตเตอรี่ ไม่ควรเทน้ำกรดทิ้งแล้วเติมน้ำกรดใหม่ เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียหายได้