Fire Pump & Jockey Pump

Fire Pump & Jockey Pump

THAIVESTEC CO.,LTD

ตัวแทนจำหน่ายปั๊มน้ำ/เครื่องสูบน้ำอุตสาหกรรมหลากหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงระดับโลก

        อาทิ ปั๊มน้ำกรุนด์ฟอส GRUNDFOS, ปั๊มน้ำอีบาร่าหรือเอบาร่า EBARA, ปั๊มน้ำสแตค STAC, ปั๊มน้ำโลวาร่า LOWARA, ปั๊มน้ำอิเล็คตร้า ELECTRA, ปั๊มน้ำคาลปิด้า CALPEDA, ปั๊มน้ำมิตซูบิชิ MITSUBISHI, ปั๊มน้ำชินเมว่า SHINMAYWA, ปั๊มน้ำซูรูมิ TSURUMI, ปั๊มน้ำจีเอสดี GSD, ปั๊มน้ำลีโอ LEO PUMP, ปั๊มน้ำพารากอน PARAGON, ปั๊มน้ำแฟร์แบงก์ FAIRBANK NIJHUIS, ปั๊มน้ำออโรร่า AURORA ครบทุกลักษณะการใช้งาน อาทิ ปั๊มน้ำระบบสุขาภิบาล (Water Supply) หลักๆจะเป็นปั๊มน้ำสูบขึ้นดาดฟ้าหรือปั๊มน้ำทรานเฟอร์ (Transfer Pump) และ ปั๊มน้ำรักษาแรงดัน/ปั๊มน้ำอัตโนมัติหรือบูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) ปั๊มน้ำระบบปรับอากาศ (Chilled water & condenser pump) ปั๊มสูบน้ำเสีย ปั๊มสูบน้ำทิ้ง/น้ำท่วม ปั๊มน้ำชลประทาน (Submersible Pump) ปั๊มสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Process Pump & Utility pump) รวมไปถึงปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump & Jockey Pump) หลากหลายชนิด อาทิ ปั๊มน้ำหอยโข่ง (Centrifugal Pump), ปั๊มน้ำแนวตั้งหลายใบพัด (Vertical Multistage Pump), ปั๊มน้ำเพลาลอยต่อยอยกับมอเตอร์ (End Suction Pump), ปั๊มน้ำสปริตเคส (Horizontal Split Case)

       เพียงคุณลูกค้าแจ้ง FLOW RATE และ TOTAL HEAD ทางเราจะเลือกปั๊มที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าให้พิจารณาต่อไป ราคาถูก ไม่แพง ถูกใจลูกค้าอย่างแน่นอน

Diesel Engine Horizontal Split Case Fire Pump

Diesel Engine Vertical Turbine Fire Pump

Motor Diven Horizontal Split Case Fire Pump

Motor Diven End Suction Fire Pump

ชุดปั๊มน้ำดับเพลิง / เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Fire Pump & Jockey Pump

ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ (Fire Sprinkler) หรือระบบ Fire Hose ที่จะทำหน้าที่ป้อนน้ำเข้าสู่ระบบด้วยปริมาณและแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของระบบดับเพลิง (Fire pump system) ที่ออกแบบไว้ ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump system) ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump Controller) ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller) Pressure Relief Valve

การทำงานของระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำภายในเส้นท่อดับเพลิง วิศวกรผู้ออกแบบ จะเป็นผู้กำหนดระดับของความดันที่สถานะต่างๆ ในการเริ่มและหยุด การทำงานของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) โดยปกติจะมีอยู่ 3 ระดับ ในกรณีเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้ต้นกำลังแบบเครื่องยนต์ดีเซล และมี 4 ระดับในกรณีเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้ต้นกำลังแบบมอเตอร์ไฟฟ้า

ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump System) เป็นระบบปั๊มน้ำดับเพลิงที่มีให้เลือกเหมาะกับงานหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ และการควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบ MANUAL และ AUTOMATIC

การติดตั้ง Fire Pump จะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ แบบนอน (Horizontal) และแบบตั้ง (Vertical) ซึ่งการเลือกลักษณะตามการติดตั้งนั้น จะต้องคำนึงถึงระดับน้ำเริ่มต้นที่ใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงดูดและจ่ายออกไปยังระบบท่อดับเพลิง ส่วนประเภทของระบบต้นกำลังของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงมี 2 ประเภท คือ แบบเครื่องยนต์ดีเซลและแบบมอเตอร์ไฟฟ้า โดยระบบทั้งสองประเภทสามารถใช้กับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทั้งแบบนอนและตั้ง

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Fire Pump แบบนอนนั้น ระดับของแหล่งน้ำดับเพลิงจะต้องมีระดับสูงกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบนอนนี้จะมีหลายลักษณะ เช่น แบบหอยโข่ง เป็นต้น

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบตั้ง Fire Pump แหล่งน้ำดับเพลิงมีระดับน้ำต่ำกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องทำการเลือกเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นแบบตั้ง (Vertical Type) เท่านั้น โดยการออกแบบและติดตั้งจะต้องมีการจัดสร้างตะแกรงกันขยะ หรือเศษสิ่งของต่างๆ ที่จะเข้ามาในบ่อน้ำที่ใช้สำหรับการดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง รวมทั้งการติดตั้งตัวกรอง (Strainer) ไว้ที่ปลายของท่อดูดเสมอ

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันในระบบ (Jocky Pump) โดยปกติเป็นเครื่องสูบน้ำที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง หน้าที่ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันนี้ คือการเติมน้ำทดแทนน้ำส่วนที่อาจมีการรั่วซึมออกไปจากระบบท่อน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อแรงดันภายในระบบท่อน้ำดับเพลิงลดลงจากระดับที่กำหนดไว้ และเมื่อมีการเติมน้ำอยู่ในระดับปกติแล้ว เครื่องสูบน้ำนี้จะหยุดเองโดยอัตโนมัติเช่นกันห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีเส้นทางการเข้าออกที่ปลอดภัยและสามารถเข้าได้โดยสะดวกตลอดเวลา ตำแหน่งของห้องควรจะอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดีและไม่มีน้ำท่วมขัง ผนังห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

สำหรับขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ตามมาตรฐานสากลนั้น มีการกำหนดขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการเลือกใช้จะต้องเลือกให้อยู่ในขนาดที่ระบุไว้ตามด้านล่าง

ลิตร/นาที  (แกลลอน/นาที)

  1. 95 (25)
  2. 189  (50)
  3. 379 (100)
  4. 568 (150)
  5. 757 (200)
  6. 946 (250)
  7. 1,136 (300)
  8. 1,514 (400)
  9. 1,703 (450)
  10. 1,892 (500)
  11. 2,839 (750)
  12. 3,785 (1,000)
  13. 4,731 (1,250)
  14. 5,677 (1,500)
  15. 7,570 (2,000)
  16. 9,462 (2,500)
  17. 11,355 (3,000)
  18. 13,247 (3,500)
  19. 15,140 (4,000)
  20. 17,032 (4,500)
  21. 18,925 (5,000)

 

อุปกรณ์ประกอบระบบ

อุปกรณ์ประกอบของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบและผลิตเพื่อใช้กับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเท่านั้น โดยอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการรับรองการทดสอบตามมาตรฐานสากลเท่านั้น อุปกรณ์หลักของระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ

  1. อุปกรณ์ระบายลมอัตโนมัติสำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

– โดยมีขนาดไม่น้อยกว่า 12.7 มิลลิเมตร

  1. วาล์วลดแรงดัน (Pressure Relief Valve)

– เพื่อป้องกันแรงดันเกินที่ด้านส่ง (Discharge) ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

  1. มาตรวัดแรงดัน

– จะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของมาตรวัดไม่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตร (3 ½ นิ้ว) พร้อมวาล์วปิดเปิดขนาด 6.25 มิลลิเมตร (1/4 นิ้ว)

  1. วาล์วปิด-เปิด

– จะต้องเป็นวาล์วที่สามารถเห็นการปิด-เปิดได้ด้วยตาเปล่า เช่นวาล์ว OS&Y วาล์วปีกผีเสื้อ เป็นต้น

  1. มาตรวัดอัตราการไหลของน้ำดับเพลิง

– เพื่อใช้ในการตรวจสอบและทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

  1. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

– จะต้องมีอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในการควบคุมสั่งงานเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและจะต้องถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับการควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเท่านั้น

อ้างอิง

[1] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[2] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 25 Standard for the Inspection, Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts. 180

[3] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 2003 Standard for the Inspection,Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[4] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 30 Flammable and Combustible Liquids Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[5] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 101 Life Safety Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[6] National Fire Protection Association. 2003. NFPA 5000 Building Construction and Safety Code 2003 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[7] National Fire Protection Association. 2004. NFPA 2001 Standard on Clean Agent Fire Extinguishing Systems 2004 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[8] National Fire Protection Association. 2005. NFPA 70 National Electrical Code 2005 Edition. National Fire Protection Association, Quincy, Massachusetts.

[9] McGrattan, K. and G. Forney. 2004. Fire Dynamics Simulator (Version 4) User’s Guide. National Institute of Standards and Technology, Gaithersburg, MD.

[10] Trevits, M.A., Yuan, L., Smith, A.C., Thimons, E.D., Goodman, G.V. 2009. The Statusof Mine Fire Research in the United States. National Institute for Occupational Safety and Health, Pittsburgh Research Laboratory, Pittsburgh, PA.

[11] George W. AMholland . Smoke Production and Properties. SFPE Handbook of Fire Protection Engineering SFPE Handbook of Fire Protection Engineering, 2nd Edition, Chapter 15, Section 2, 217-227

 

Cummins-emblem
Spp-pumps-logo
NFPA-logo
ul-logo
FMApprovedCASTABLE2_jpg